สถานการณ์ปัจจุบันปี 2020 นี้ คงไม่พ้นเรื่องของโรคระบาดอย่าง “โควิด-19” ที่ทำเอาเหล่าผู้คนหวาดกลัวไปตาม ๆ กัน แต่ท่ามกลางความวุ่นวายก็ยังคงมีโอกาสที่ส่องสว่าง อย่างเจ้าวัคซีนต้านโควิด 19 นี้เอง เป็นกุญแจสำคัญในการกำจัดเจ้าเชื้อไวรัสโคโรน่าให้หายไป แต่อย่างไรก็ตาม ก่อนผลลัพธ์ของวัคซีนจะสำเร็จ กลับได้สร้างความโกลาหลครั้งใหญ่ที่คาดไม่ถึง

ทำไมวัคซีนต้านโควิด 19 ถึงอาจได้ใช้ในปีหน้า ?

ในช่วงเดือนกรกฎาคม 20 มีข่าวอัพเดตเกี่ยวกับวัคซีนต้านโควิด 19 มาตลอดเวลา ซึ่งหลาย ๆ ประเทศกำลังเร่งวิจัยและจ้างบริษัทยาในการผลิต เพื่อเตรียมตัวแจกจ่ายให้กับประชาชนในประเทศตนเอง แต่ต่อให้ผลิตออกมาจำนวนหนึ่งแล้วก็ตาม ก็ยังไม่สามารถนำตัววัคซีนมาใช้กับคนได้จริง จำเป็นต้องผ่านการทดลองตามขั้นตอนและได้รับการอนุมัติเสียก่อน และอีกเหตุผลของความล่าช้า คือจำนวนขั้นตอนในการทดลอง

ซึ่งขั้นตอนในการทดลองแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

1.ทดลองห้องปฏิบัติการ

-ทดลองในหลอดทดลอง

2.ทดลองในสัตว์

-สัตว์เล็ก เช่น หนู
– สัตว์ใหญ่ เช่น ลิง (สถาบันจุฬาฯ ผ่านการทดสอบรอบนี้แล้ว)

3.ทดลองในมนุษย์

– คนกลุ่มน้อย (50 – 100 คน) เวลาทดลอง 2 เดือน (เฟส1)
– คนกลุ่มใหญ่ (200 – 1000 คน) เวลาทดลอง 6 เดือน (เฟส 2)
– ประชากรหมู่มาก (2000 – 10000 คน) เวลาทดลอง 6 เดือน(เฟส 3)

ซึ่งการทดลองตัววัคซีนต้านโควิด 19 ของบริษัทยาในเครือประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯและจีน ได้เริ่มเข้าสู่ช่วงประชากรหมู่มาก (เฟส 3) เป็นที่เรียบร้อย ในกรณีของการทดลองได้เสร็จเร็วกว่าแผนการที่วางไว้ อาจมีสิทธิ์ได้ใช้ยาจริงในปลายปีนี้ แต่ถึงกระนั้น องค์การอนามัยโลกเผยว่า เวลาที่เหมาะสมที่สุดควรจะเป็นช่วงต้นปีหน้า เพื่อความมั่นใจในประสิทธิภาพ และความปลอดภัยต่อตัวผู้ถูกฉีดยาด้วย

แล้วประเทศไทยจะได้ใช้วัคซีนเมื่อไหร่ ถ้าหลาย ๆ คนได้ลองนับเวลาจากตอนที่สถาบันจุฬาได้ผ่านการทดลองกับสัตว์ขนาดใหญ่มาแล้ว แน่นอนว่าประเทศไทยต้องรอถึงปี 2022 เลยทีเดียว แต่ทว่าชนิดของยาในการทดลองระหว่างของจุฬากับบริษัทยาต่างประเทศเป็นตัวเดียวกัน เพราะฉะนั้น ถ้าบริษัทยาต่างประเทศทดลองได้สำเร็จ ไทยอย่างเราก็ประสบความสำเร็จตามไปด้วย โดยสามารถใช้วัคซีนตัวยานั้นได้เลย ไม่จำเป็นต้องทดลองเพิ่มอีกต่อไป

คลื่นความโกลาหลอันมาพร้อมกับ วัคซีนต้านโควิด 19

ณ วินาทีนี้ อาจไม่มีอะไรสำคัญเทียบเท่าวัคซีนอีกแล้ว ต่อให้เอาทองคำมาแลกก็ยังต้องคิดหนัก นอกจากจะช่วยรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิดแล้วนั้น ยังเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศให้ฟื้นตัวได้เร็วประเทศอื่นอีกด้วย นั่นจึงส่งผลให้ประเทศมหาอำนาจค่อย ๆ จุดชนวนความขัดแย้ง เพื่อแย่งชิงอำนาจมาไว้ครอบครอง

ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐฯ รัสเซีย จีน และอังกฤษ ต่างก็เริ่มออกมาเคลื่อนไหวเพื่อแสดงศักยภาพของประเทศตัวเองในการจัดสรรงบประมาณสำหรับเตรียมความพร้อมสู้กับโรคโควิด 19 ขอยกตัวอย่างประเด็นข่าวสุดร้อนแรง ณ ตอนนี้ ที่มีนักแฮกเกอร์สัญชาติจีนได้ทำการโจรกรรมข้อมูลทางเภสัชกรรมเกี่ยวกับวัคซีนต้านโควิด 19 ของประเทศสหรัฐฯ รวมถึงอีกหลายประเทศ และเกิดข้อสงสัยไปถึงประเทศรัสเซียในข้อหาสมรู้ร่วมคิดกับจีนในการขโมยสูตรผลิตวัคซีนต้านโควิด 19 อีกด้วย

อีกประเด็นที่น่าจับตามองคือ สหรัฐฯ ได้จองวัคซีนไปถึง 100 ล้านชุด พร้อมจ่ายเงินจำนวน 2000 ล้านดอลลาร์ จากบริษยาทั่วโลกหลายแห่ง เพราะการกระทำเช่นนี้ อาจส่งผลให้วัคซีนไม่เพียงพอต่อประเทศอื่น ๆ จึงทำให้องค์การแพทย์ไร้พรมแดนได้ออกมาทำสัญญากับบริษัทยาต่าง ๆ ให้ผลิตวัคซีนสำรองไว้จำนวน 400 ล้านโดส เพื่อรองรับสำหรับประเทศที่ขาดแคลนเลยทีเดียว

สุดท้ายนี้ ต่อให้เกิดความวุ่นวายมากเพียงใด แต่ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตวัคซีนโควิด 19 อย่างแน่นอน ซ้ำเป็นผลดีเสียอีก เนื่องจากการแข่งขันกันของแต่ละประเทศ เป็นเสมือนตัวกระตุ้นให้เร่งผลิตและวิจัยเรื่องวัคซีนต้านโควิด 19 เร็วขึ้นไปอีก อย่างไรก็ตาม ทางที่ดีที่สุด คือ การป้องกันด้วยตัวของเราเอง และคอยรักษาสุขภาพของเราให้แข็งแรงอยู่เสมอ

Recommended Posts

Leave a Comment