ปลายปี 2020 ได้เกิดปัญหาด้านอุทกภัยขึ้นอย่างรุนแรงในภาคใต้ และนับว่าหนักสุดในรอบ 50 ปี ของจังหวัดนครศรีธรรมราชเลยทีเดียว ความเสียหายที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นี้ได้สร้างความเดือนร้อนที่ส่งผลไปหลายภาคส่วนเช่นกัน ถือได้ว่าการเกิดอุทกภัยเป็นภัยพิบัติที่เราเห็นได้บ่อยครั้ง คนรุ่นใหม่จึงควรรู้วิธีรับมือน้ำท่วมเพื่อให้เกิดความระมัดระวังตื่นตัว ตลอดจนสามารถช่วยเหลือผู้อื่นที่ประสบเหตุได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

แนวทางเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมฉบับคนรุ่นใหม่

แม้ว่าอุทกภัยจะเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันเป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง เช่น พื้นที่ทางน้ำผ่าน พื้นที่ติดชายฝั่งทะเล พื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล เป็นต้น ทั้งนี้รวมไปถึงพื้นที่อื่น ๆ ของโลกที่อาจจะโดนภัยพิบัตินี้ด้วยเหมือนกัน การรับมือน้ำท่วมจึงมีทั้งการแจ้งเตือนล่วงหน้าไว้ก่อนแล้ว และการรับมือในสถานการณ์ที่ฉุกเฉินเร่งด่วน การเตรียมตัวให้พร้อมจึงเป็นสิ่งที่ควรทำมากที่สุดก่อนเกิด ซึ่งมีแนวทางได้ดังต่อไปนี้

1.ติดตามข่าวสาวทุกช่องทางอยู่เสมอ

อย่าพึ่งเอาเวลาทั้งวันหมดไปกับการทำงาน เล่นเกม ดูหนัง แบ่งเวลาสักนิดในแต่ละวันเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวในสังคม ผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ โทรศัพท์ วิทยุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่มีอินเทอร์เน็ตเข้าถึงทุกพื้นที่ก็สามารถรับรู้ข่าวสารได้อย่างรวดเร็วฉับไว จึงเป็นเรื่องไม่ยากที่จะติดตามสถาณการณ์ข่าวสารเพื่อรับมือน้ำท่วม ทั้งนี้ข้อควรระวังอีกอย่างในยุคที่มีการแชร์ข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็วนี้ สามารถเกิดข่าวปลอม การบิดเบือนข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงได้เช่นกัน ข้อมูลที่รับรู้จึงควรมาจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้เท่านั้น

2.ตั้งสติก่อนรับมือ

หากเกิดน้ำท่วมขึ้น สิ่งที่ต้องตระหนักไว้คือ สติ อย่าได้ตื่นตระหนัก เครียดจนทำอะไรไม่ถูก หากน้ำพึ่งเริ่มมาให้หยิบติดตัวเฉพาะของใช้ที่สำคัญจำเป็นจริง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ กระเป๋าสตางค์ เป็นต้น แต่กรณีที่ฉุกเฉินหยิบอะไรไม่ทันก็ไม่เป็นไร อย่าได้เสียดาย ตั้งสติเอาชีวิตรอด แล้วรับมือสถานการณ์ให้ดีก่อน

3.การอพยพเมื่อเกิดภัยพิบัติ

เมื่อน้ำเริ่มท่วมและเพิ่มระดับแล้ว มันจะเพิ่มระดับต่อเนื่องอย่างรวดเร็วแล้วแต่มวลน้ำที่มา สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือให้เอาชีวิตให้รอดก่อน หากมีเด็กและคนสูงอายุให้อพยพคนกลุ่มนี้ออกไปอยู่พื้นที่ปลอดภัยก่อน โดยให้หาอะไรยึดจับและทำการหนีอย่างรวดเร็วไป หรือถ้าต้องเดินก็ให้ไปเส้นทางเดียวกับที่น้ำไหล หากไม่ยึดจับหรือเดินหนีสวนทางน้ำอาจจะถูกน้ำแรงพัดไปได้ ห้ามขับรถเด็ดขาด เพราะน้ำเชี่ยวจะพัดเอาสิ่งของต่าง ๆ ไปอย่างรวดเร็ว

4.ห้ามใกล้ไฟฟ้าเด็ดขาด

หากน้ำยังเพิ่มระดับไม่สูงมากนักให้รีบทำการสับคัตเอาท์ที่พักอาศัยทันที เปลี่ยนมาใช้ไฟฉายพกพา เพื่อป้องกันการรั่วของกระแสไฟฟ้าได้ เมื่อออกนอกบริเวณที่พักอาศัย ห้ามสัมผัส หรือเข้าใกล้เสาไฟฟ้า หรือจุดที่สามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมาเด็กขาด

5.เข้าที่ปลอดภัย

เมื่อได้เข้าพื้นที่ปลอดภัยแล้ว ให้ติดต่อข้อความช่วยเหลือทันที เมื่อได้ไปอยู่พื้นที่ปลอดภัย ส่วนมากจะเป็นศูนย์พักพิงชั่วคราวระหว่างเกิดอุทกภัย ให้ระมัดระวังและช่วยเหลือกัน รักษาความสะอาดเพื่อป้องกันการเกิดโรคระบาดและโรคติดต่อ ปฏิบัติตามคำเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ที่ให้ความช่วยเหลือ

แนวทางรับมือน้ำท่วมหลังน้ำลดอย่างมีสติ

หลังจากน้ำท่วมผ่านพ้นแล้วก็จะสร้างความเสียหายอย่างเป็นวงกว้างให้เราตั้งสติให้ดี เพื่อรับมือและหาแนวทางแก้ไขอย่างถูกต้องเหมาะสม โดยจะสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

1.เข้าตรวจเช็คที่พักอาศัย

ตรวจเช็คความเรียบร้อยที่พักอาศัยทุกซอกทุกมุม จดบันทึกความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ถ่ายรูปไว้ก่อน ถ่ายรูปเก็บรายละเอียดไว้ให้ได้มากที่สุด เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน หรือแสดงข้อมูลได้หากยื่นเรื่องขอเยียวยาเงินชดเชย

3.ทำความสะอาด

เริ่มทำความสะอาดพื้น ผนัง เพดาน ขอบประตู รวมทั้งท่อต่าง ๆ ให้สะอาดที่สุด ลงน้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อป้องกันโรคติดต่อ เชื้อโรคที่มากับน้ำ และที่สำคัญเพื่อเป็นการตรวจดูรอบที่พักให้แน่ใจว่าไม่มีสัตว์อัตรายมีพิษแอบแฝงอยู่

ทำการแยกสิ่งของที่เสียหายจนใช้การไม่ได้ออก เช่น พรมต่าง ๆ ก็ควรตัดใจทิ้ง เพราะมีความเสี่ยงที่จะมีเชื้อโรค

4.เช็คไฟฟ้าในบ้าน

ตรวจดูให้แน่ใจก่อน ว่าปลั๊กหรือสายไฟแห้งหมดแล้วจึงกลับมาใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าปกติได้ หากเครื่องใช้ไฟฟ้ามีความชำรุดให้นำไปตรวจเช็คและซ่อมแซม อาจจะเปลี่ยนแผงวงจรเล็กน้อยก็สามารถกลับมาใช้งานได้ปกติ แต่หากชำรุดจนไม่สามารถกลับมาใช้งานได้ก็ไม่ต้องฝืน ควรตัดใจทิ้งเช่นกันเพราะมันจะอันตรายมากหากไฟฟ้าลัดวงจร

5.ปัญหาส้วม ปัญหาระดับชาติเมื่อน้ำท่วม

ปัญหาส้วมนับเป็นเรื่องใหญ่ เพราะขณะที่เกิดอุทกภัยนั้น ส้วมจะเต็ม เหม็น ปัญหาต่าง ๆ มากมาย เมื่อหลังน้ำลดแล้วให้ตรวจเช็คให้ดีว่าการดูดซึมท่อยังดีอยู่หรือไม่ ปัญหาส่วนใหญ่ของส้วมคือ ส้วมอยู่ต่ำกว่าหรือใกล้เคียงกับบ่อเกรอะซึ่งจะเกิดปัญหาเรื่องการไหลย้อนกลับ จึงควรตรวจสอบให้ดีว่าท่อถังบำบัดต้องสูงกว่าระดับท่อระบายน้ำเสมอ

การรับมือน้ำท่วมไม่ใช่เรื่องไกลตัว เป็นเรื่องที่มีโอกาสเกิดขึ้นทั้งในเมือง และนอกเมือง คนรุ่นใหม่ จึงควรมีแนวทางรับมือกับภัยพิบัตินี้อย่างมีสติ ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา หมั่นติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหว แนวโน้วที่จะมีโอกาสเกิดขึ้น รวมทั้งการรับแจ้งเตือนจากคนในชุมชนและพื้นที่เสี่ยงในแต่ละช่วงเวลาอีกด้วย

Recommended Posts

Leave a Comment